เกี่ยวกับหลักสูตร
ประวัติความเป็นมา

                หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต ก่อตั้งขึ้นด้วยปรัชญาที่ผลิตบัณฑิต เป็นสถาปนิกอาชีพที่รับใช้สังคม ผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งทันต่อเทคโนโลยีด้านการการออกแบบและก่อสร้าง เพื่อน้อมนำไปสู่ชุมชน  ประกอบกับความเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ซึ่งเป็นแหล่งความรู้ที่เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่มีฐานข้อมูลทางวิชาการ งานศึกษาวิจัย สามารถนำมาใช้ต่อยอดองค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมได้เป็นอย่างดี จึงเป็นที่มาของจัดทำหลักสูตรขึ้นมาเพื่อสรรค์สร้างบุคคลากรด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต(สถ.บ.) เริ่มเปิดการเรียนการสอน รับนักศึกษา รุ่นที่1 คือ ปีการศึกษา 2554 โดยได้รับอนุมัติรับรองปริญญา วันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2561 ทำให้บัณฑิต ที่จบจากหลักสูตร รุ่นแรกและรุ่นต่อมา มีสิทธิ์สอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ สถาปัตยกรรมควบคุม การพัฒนาหลักสูตรได้ดำเนินการปรับปรุงตามกำหนดเพื่อให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จากผู้ใช้บัณฑิตนักศึกษาและบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา รวมถึงคณาจารย์ผู้สอน เพื่อทำให้หลักสูตรมีคุณภาพและประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ดำเนินการปรับปรุงมาแล้ว 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 คือ หลักสูตรปรับปรุงปี 2555 ครั้งที่ 2 คือ หลักสูตรปรับปรุงปี 2560 และครั้งที่ 3 คือ หลักสูตรปรับปรุงปี 2565 เป็นปีล่าสุดที่ทำการปรับปรุง โดยทุกครั้ง ทางหลักสูตรได้ทำการศึกษา ประเมินหลักสูตรที่ใช้มาก่อนพร้อมกับการทำวิจัย ควบคู่ไปเพื่อต้องการทราบแนวทางการเรียนการสอนทางด้านสถาปัตยกรรม ให้ทันต่อแหล่งงาน เทคโนโลยีด้านการออกแบบ การเขียนแบบ การนำเสนอแบบ ที่เกิดขึ้นใหม่ๆ มาสู่การสร้างให้ผู้เรียนในหลักสูตร เป็นผู้ที่สามารถทันต่อเทคโนโลยี และความต้องการของสังคม วงการวิชาชีสถาปัตยกรรม อย่างทันท่วงที 

                 แนวทางการผลิตบัณฑิตทางสถาปัตยกรรม ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีแนวคิดให้เป็น สถาปนิกอาชีพ หมายความว่า บัณฑิตจะต้องไปประกอบวิชาชีพได้ทุกคน และแสดงศักยภาพของตนเองให้กับหน่วยงาน ได้ตามความต้องการ  ยังสามารถสร้างสรรค์สังคมด้วยความสามารถด้านการออกแบบ   จากแนวคิดดังกล่าวจึงนำไปสู่การกำหนดกระบวนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ ได้แก่  โจทย์การออกแบบในวิชาเรียนให้เป็นส่วนหนึ่งการแก้ปัญหาจริง   การศึกษาดูงานสถานที่จริงเป็นสร้างประสบการณ์โดยตรงต่อการออกแบบสถาปัตยกรรม การฝึกปฏิบัติและตรวจผลงานจากคณาจารย์ที่เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา รวมทั้งจากวิทยากรพิเศษที่เป็นสถาปนิกที่มีประสบการณ์ หรือ นักวิชาการที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยต่างๆ  อีกแนวทางคือการให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ร่วมกับคณาจารย์ที่ทำงานวิจัย ในภาคสนาม การเก็บข้อมูล การสำรวจ การลงพื้นที่ชุมชน เพื่อให้ตระหนักถึงการเป็นสถาปนิกที่ดี ต้องอาศัยความสามารถการสื่อสารกับชาวบ้าน การแก้ปัญหาจากสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น การทำงานร่วมกันเป็นทีม จึงจะสามารถทำให้งานออกแบบสถาปัตยกรรมครอบคลุมในทุกศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

                 ในแง่ของความก้าวหน้าของเครื่องมือการเรียนการสอน และอาคารสถานที่ พื้นที่ทำกิจกรรม  ที่ผ่านมาหลักสูตรได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ครั้งแรกที่เปิดการสอน สถานที่มีจำนวนห้องปฏิบัติงานสตูดิโอเพียงพอกับนักศึกษา รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ฝึกและทดลอง เพื่อให้สอดรับกับกิจกรรมการเรียน  หลักสูตรได้จัดสถานที่ทำงานร่วมกันระหว่างนักศึกษาเพื่อตรวจงาน ทำงานกลุ่ม มีความสะดวกและทันสมัย อยู่ในห้องประจำในมหาวิทยาลัย และห้องนำเสนอผลงานเรียนที่ใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดกับนักศึกษา  และเกิดประสิทธิภาพการทำงานกับคณาจารย์ 

                 จะเห็นได้ว่าหลักสูตรได้ดำเนินการ อย่างมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ให้พร้อมต่อการเรียนการสอน ตอบสนองความต้องการในอนาคต เพื่อผลิตบัณฑิตของเราอย่างมีคุณภาพ เป็นสถาปนิกอาชีพ ที่รับใช้สังคม ท้องถิ่น และชุมชน ประกอบอาชีพที่ทันต่อสถานการณ์ สามารถปรับตัวให้เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน จะทำให้เป็นคนที่มีคุณภาพของสังคม และประเทศชาติ


โครงสร้างบริหาร

ทำเนียบประธานหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต

ผศ.ดร.นิธิ ลิศนันท์

ปีการศึกษา 2554 – 2556
ปีการศึกษา 2558 – 2560
ปีการศึกษา 2560 – 2562

ผศ.ศราวุฒิ ใจอดทน

ปีการศึกษา 2557 – 2558

ผศ.ดร.การุณย์ ศุภมิตรโยธิน

ปีการศึกษา 2562 – 2564
ปีการศึกษา 2564 – ปัจจุบัน

บุคลากร

อาจารย์ผู้สอนประจำหลักสูตร

ผศ.ดร.นิธิ  ลิศนันท์

ผศ.ดร.นิธิ ลิศนันท์

สถ.ด. (สถาปัตยกรรม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2553)
ความเชี่ยวชาญเฉพาะ

การออกแบบสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมผังเมือง การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและชุมชนเมือง

การออกแบบพื้นที่สาธารณะ ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และสัญศาสตร์ในงานสถาปัตยกรรม

ผศ.ดร.การุณย์ ศุภมิตรโยธิน

ผศ.ดร.การุณย์ ศุภมิตรโยธิน

ปร.ด. (สถาปัตยกรรมศาสตร์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2561)
ความเชี่ยวชาญเฉพาะ

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม การจัดการมรดกทางวัฒนธรรม

ผศ.ศราวุฒิ  ใจอดทน

ผศ.ศราวุฒิ ใจอดทน

ปริญญาโท สถ.ม. (นวัตกรรมอาคาร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2552)
ความเชี่ยวชาญเฉพาะ

สถาปัตยกรรมหลัก การออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อผู้สูงอายุและคนพิการ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น

ผศ.ขวัญนภา  สิทธิ์ประเสริฐ

ผศ.ขวัญนภา สิทธิ์ประเสริฐ

ปริญญาโท สถ.ม.(นวัตกรรมอาคาร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2551)
ความเชี่ยวชาญเฉพาะ

การออกแบบสถาปัตยกรรมยั่งยืน (สถาปัตยกรรมพอเพียง)

ผศ.วุฒิพงศ์ แสนบุดดา

ผศ.วุฒิพงศ์ แสนบุดดา

ปริญญาโท สถ.ม. (สถาปัตยกรรม) มหาวิทยาลัยศิลปากร (2552)
ความเชี่ยวชาญเฉพาะ

พฤติกรรม สถาปัตยกรรมสีเขียว อนุรักษ์พลังงานในอาคาร

ผศ.มาริสา หิรัญตียะกุล

ผศ.มาริสา หิรัญตียะกุล

ปริญญาโท สถ.ม.(ออกแบบชุมชนเมืองและวางผังชุมชนเมือง) มหาวิทยาลัยศิลปากร (2552)
ความเชี่ยวชาญเฉพาะ

การออกแบบวางผังและพัฒนาย่านชุมชนอย่างยั่งยืน

อาจารย์ปริญญา เชิดเกียรติพล

อาจารย์ปริญญา เชิดเกียรติพล

ปริญญาโท สถ.ม. (สถาปัตยกรรม) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (2550)
ความเชี่ยวชาญเฉพาะ

สถาปัตยกรรมภายใน สาขาสภาพแวดล้อมภายใน การออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน

อาจารย์ศาสตรา  ตั้งใจ

อาจารย์ศาสตรา ตั้งใจ

ปริญญาโท สถ.ม. (เทคโนโลยีอาคาร) มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2556)
ความเชี่ยวชาญเฉพาะ

สถาปัตยกรรมยั่งยืน

นางสาวสุพัตรา  ทองกลม

นางสาวสุพัตรา ทองกลม

ปริญญาโท ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม) มหาวิทยาลัยศิลปากร (2557)
ความเชี่ยวชาญเฉพาะ

ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม / สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น / สถาปัตยกรรมลุ่มน้ำโขง

 อาจารย์รัฐพล ปัญจอาภรณ์

อาจารย์รัฐพล ปัญจอาภรณ์

ปริญญาโท คพ.ม. (เคหการ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2551)
ความเชี่ยวชาญเฉพาะ

สถาปัตยกรรมที่เป็นมิตรกับคนทั้งมวล (Universal Design) การออกแบบสถาปัตยกรรมที่เหมาะสมกับคนพิการ และผู้สูงอายุ

อาจารย์บัณฑิตทัศน์ ทสยันไชย

อาจารย์บัณฑิตทัศน์ ทสยันไชย

ปริญญาโท สถ.ม. (สถาปัตยกรรม) มหาวิทยาลัยศิลปากร (2552)
ความเชี่ยวชาญเฉพาะ

การออกแบบสถาปัตยกรรม / แนวความคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรม / การประกวดแบบทางสถาปัตยกรรม

การออกแบบอาคารใหญ่พิเศษและอาคารสูง / การปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม

อาจารย์ นิธิมา  มั่นคง

อาจารย์ นิธิมา มั่นคง

ปริญญาโท สถ.ม. (สถาปัตยกรรม) มหาวิทยาลัยศิลปากร (2555)
ความเชี่ยวชาญเฉพาะ

สถาปัตยกรรม  อนุรักษ์พลังงานในอาคาร

เจ้าหน้าที่

นางสาวบัณฑิตา มียิ่ง

นางสาวบัณฑิตา มียิ่ง

ปริญญาโท บธ.ม. มหาวิทยาลัยรามคำแหง (2556)
ความเชี่ยวชาญเฉพาะ
ติดตามข่าวสารจากเรา
Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.